วัยหมดระดู หรือ วัยทอง (Menopause) เป็นวัยหมดระดู หรือวัยทอง(Menopause)เป็นวัยที่สิ้นสุดการมีระดูอย่างถาวรเนื่องจากรังไข่สร้างฮอร์โมนลดลงซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นกับสตรีทุกคนโดยส่วนใหญ่สตรีจะเข้าสู่วัยหมดระดูเมื่ออายุ47–50ปีเริ่มจากรังไข่เริ่มทำงานไม่ปกติซึ่งทำให้มีระดูถี่ขึ้นจากช่วงห่าง 28 วัน เป็นประมาณ 21 วัน หรือมีระดูไม่สม่ำเสมอระยะเวลาระหว่างรอบระดูจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งไม่มีระดูอย่างถาวรโดยทั่วไปช่วงนี้ใช้เวลา 2–8 ปีเราเรียกช่วงเวลานี้ว่าวัยใกล้หมดระดู(Perimenopause)
หรือวัยเปลี่ยน(Climacteric)
การเปลี่ยนแปลงในวัยหมดระดูเกิดขึ้นได้หลากหลายส่วนใหญ่ดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไปในสตรีบางคนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างราบรื่นและไม่พบปัญหาแต่ในสตรีบางคนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและรุนแรงทำให้มีผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจซึ่งต้องการการดูแลรักษาความแตกต่างในสตรีแต่ละคนนั้นอาจเนื่องจากความแตกต่างในพื้นฐานพันธุกรรมการดำเนินชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ มีปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมซึ่งแตกต่างกันไปตามภูมิภาคและชุมชนดังนั้นจึงควรทราบว่าการเปลี่ยนแปลงในวัยหมดระดูนั้นมีอะไรบ้างเพื่อที่จะได้เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการเข้าสู่วัยหมดระดู
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัยหมดระดูสามารถแบ่งอย่างง่ายๆ ออกเป็น 2 อย่าง ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นและการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว
การเปลี่ยนแปลงในระยะสั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวัยใกล้หมดระดูและวัยหมดระดูช่วงต้น เกิดจากมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนอย่างรวดเร็วทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้แก่
-
อาการของระบบประสาทอัตโนมัติทำให้เกิดอาการร้อนวูบวาบตามตัว (Hot Flashes) มักจะมีอาการร้อนซู่ขึ้นมาทันทีบริเวณหน้า ลำคอ และหน้าอกมักเกิดอาการอยู่นานประมาณ 3 – 5 นาที แล้วก็หายไป บางคนพบมีเหงื่อออกมากร่วมด้วยส่วนใหญ่มักมีอาการในช่วงกลางคืน ทำให้นอนไม่หลับตามมา
-
อาการของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ ได้แก่ช่องคลอดอักเสบ คันช่องคลอด ช่องคลอดแห้ง ทำให้เจ็บเวลามีการร่วมเพศ
-
อาการช่องระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ ปัสสาวะบ่อยกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย
-
การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจและอารมณ์ ได้แก่หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง เครียด กังวล เหนื่อย เพลียหมดความต้องการทางเพศ เป็นต้น
-
การเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังในวัยหมดระดูผิวหนังจะบางลง ความยืดหยุ่นลดลง
-
การเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อและข้อ พบว่ากำลังของกล้ามเนื้อลดลง มีอาการปวดตามข้อ
การเปลี่ยนแปลงในระยะยาวเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดในวัยหมดระดูช่วงหลังมักเกิดจากความเสื่อมถอยของร่างกาย ได้แก่
-
การเปลี่ยนแปลงทางกระดูกเมื่อเข้าสู่วัยหมดระดูจะมีการสูญเสียกระดูกมากขึ้นแต่ละคนจะมีอัตราการสูญเสียกระดูกที่เร็วช้าแตกต่างกันไป ประมาณ 1 ใน 3 จะสูญเสียเนื้อกระดูกอย่างรวดเร็ว เกินกว่าร้อยละ 3 ต่อปีทำให้มีโอกาสเกิดโรคกระดูกพรุนได้เร็วการสูญเสียกระดูกที่รวดเร็วในอัตรานี้อาจคงอยู่นาน 10–15 ปีหลังจากนั้นจะเริ่มลดลง
-
การเปลี่ยนแปลงของหัวใจและหลอดเลือดพบว่าในวัยหมดระดูจะมีอุบัติการณ์และความชุกของโรคหัวใจ และหลอดเลือดโดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นมีไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น
ในปัจจุบันมีการใช้ฮอร์โมนทดแทนเพื่อป้องกันและรักษาอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในวัยหมดระดูกันอย่างแพร่หลายอย่างไรก็ตามผู้ที่ใช้ฮอร์โมนทดแทน หรือผู้ที่อยู่ในวัยหมดระดูควรมีความรู้และความเข้าใจในฮอร์โมนทดแทน และการปฏิบัติตัวในช่วงวัยหมดระดูเพื่อสามารถใช้ชีวิตในช่วงวัยหมดระดูได้อย่างมีความสุข และสุขภาพที่ดี
ขอแนะนำผลิตภันฑ์
“ผิวสวย หน้าใส ภายในกระชับ ดับกลิ่น ปวดประจำเดือน ตกขาว ปัญหาสำหรับคุณผู้หญิงจะหมดไปด้วย ซันคลาร่า ความเสื่อมของร่างกายเกิดขึ้นได้ทุกขณะ และทุกๆเวลาที่ผ่านไป อีกทั้งสภาวะแวดล้อมต่างๆ ภายนอกมากมายที่บั่นทอนสุขภาพ ซึ่งจะทำให้ความเสื่อมโทรมของร่างกายมีมากขึ้นเป็นทวีคูณ.
ซันคลาร่าช่วยคุณได้ เพราะจะไปซ่อมแซมและฮอร์โมนทอเทนได้เพื่อป้องกันและรักษาอาการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของวัยหมดประจำเดือนได้ค่ะ
|